เมื่อไหร่จึงเรียกว่านอนไม่หลับ ?

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ต้องขออธิบายให้รู้ว่าการนอนไม่หลับนั้นไม่ใช่โรค แต่นับเป็นปัญหาการนอนที่ไม่เพียงพอ ทำให้เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น โดยอาจส่งผลกระทบต่อหน้าที่ การทำงาน และความสัมพันธ์ต่อผู้อื่นได้ ซึ่งหลายๆ คนก็อาจมีความรู้สึกเมื่อนอนไม่หลับได้หลายรูปแบบ เช่น นอนหลับยาก ต้องใช้เวลานานถึงจะหลับ , นอนหลับไม่สนิท , นอนหลับๆ ตื่นๆ , นอนเร็วกว่าปกติ , ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น เหมือนไม่ได้หลับ เมื่อเกิดอาการนี้มากๆ เข้า หลายคนก็หมกมุ่นอยู่กับอาการของตนจนไม่เป็นอันทำอะไร

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของจิตใจ (Psychologic Causes of Insomnia) จากการเก็บข้อมูลพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับส่วนใหญ่มักเกิดจากอาการที่ส่งผลกระทบต่อเรื่องของจิตใจ อาทิ โรคเครียด โรคซึมเศร้า โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ถึงร้อยละ 70 จะมีอาการนอนไม่หลับเป็นอาการหลักๆ

สาเหตุของการนอนไม่หลับที่มีปัจจัยที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดการนอนไม่หลับ (Precipitating Factors of Transient Insomnia) ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นชั่วคราว อาทิ

Adjustment Sleep Disorder เป็นภาวะนอนไม่หลับที่เกิดจากสิ่งกระตุ้นที่เพิ่งเกิด เช่น ผลจากความเครียด , การเจ็บป่วย , การผ่าตัด , การสูญเสียของรัก , เรื่องงาน ซึ่งเมื่อใดที่สิ่งกระตุ้นเหล่านี้หาย อาการนอนไม่หลับจะกลับสู่สภาวะปกติ

Jet Lag มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เดินทางบินข้ามเขตเวลา ทำให้ร่างกายต้องเปลี่ยนเวลานอนจนปรับตัวไม่ทัน เป็นเหตุให้นอนหลับยาก

Working Conditions เป็นผลมาจากการที่ต้องเข้างานเป็นกะ ทำให้นาฬิกาชีวิตเสียไป จนทำให้ต้องนอนไม่เป็นเวลา

Medications อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากการใช้ยา หรือเครื่องดื่ม เช่น ยาลดน้ำมูก , กาแฟ